บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

ทำไม.. นักพุทธปรัชญาจึงตกนรก???


ทำไม.. นักพุทธปรัชญาจึงตกนรก???

บทความนี้.. เกิดจากผมไปสนใจฟังคำสอนของอาจารย์ที่สอนพุทธปรัชญาท่านหนึ่ง  ถ้าเอ่ยชื่อก็คงมีคนรู้จัก เพราะ ท่านแต่งตำราหลายเล่ม

ครั้งแรกเลย ผมและคณะก็อยากจะตรวจสอบว่า... ดวงบุญของท่านใหญ่โตขนาดไหน?  

เนื่องจากเห็นว่า ท่านบวชเรียนตั้งแต่เป็นเณร ศึกษามาจนได้เป็นอาจารย์ในระดับที่มีชื่อเสียง 

ผลของการตรวจสอบ.... ทำให้ผมตกใจมากคือ........ 

***

ไม่เห็นดวงบุญของท่าน

***

เห็นแต่ดวงบาปดวงใหญ่มากๆ 

ผมก็พยายามศึกษา ท่านมาเรื่อยๆ  จนมาทราบชัดเจนว่า.. ทำไม ไม่เห็นดวงบุญเห็นแต่ดวงบาป ซึ่ง ณ ปัจจุบันนี้ ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายก็ "ดำสนิท"

แสดงว่า เมื่อแตกกายตายไป  น่าจะไปถึง "นรกโลกันต์" 

ผู้ที่จะตกนรกโลกันต์ได้นั้น  ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายธรรมพระอรหัตขนาด ๒๐ วา ต้อง "ดำสนิท"  ไม่มีจุดขาวปนเลยแม้แต่นิดเดียว 

ท่านจึงจะได้ "เอกสิทธิ์" ลงนรกโลกันต์ได้ 

กลับมาชี้ประเด็น ขอให้ดูภาพ....  ศาสนาพุทธเราเข้าใจดีก็คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าที่มีการสั่งสอนสืบต่อมาโดยสาวกของพระองค์ ก็แตกแยกออกไปหลายนิกาย

ปรัชญาเป็นองค์ความรู้ทางตะวันตก ซึ่งถือได้ว่าเป็น "แม่ของวิชาทั้งปวง"  วิชาต่างๆ ก็หลุดออกมาจากปรัชญาทั้งนั้น

ความแตกต่างระหว่างศาสนาพุทธกับปรัชญาที่สำคัญก็คือ  ในขั้นปรมัตถธรรม ความจริงของศาสนาพุทธ "ไม่ขึ้นกับระบบเหตุผลหรือตรรกะ"  แต่ปรัชญาจะศึกษาทุกอย่างภายใต้ของรระบบเหตุผลหรือตรรกะ

ดังนั้น.....

เมื่อนำปรัชญามาศึกษาศาสนาพุทธ ก็ต้องตัดเรื่อง "นรก-สวรรค์" ออกไป  บางคนผมว่า คงตัด "นิพพาน" ออกไปด้วย 

ที่อธิบายไปนั่น เป็นมุมมองของผมเอง 

ผมว่า.. นักปรัชญาคงมองอย่างภาพล่าง คือ เห็นว่า "ศาสนาพุทธ" เป็นองค์ความรู้ "นิดหนึ่ง" ในองค์ความรู้ของโลกเท่านั้น

ที่นี้ นักพุทธปรัชญา จะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ...

*-*-*-*

[1]..  กลุ่มคนนอก  ก็พวกนักวิชาการต่างๆ พวกนับถือศาสนาอื่น ฯลฯ

[2]..  กลุ่มคนใน   กลุ่มนี้ พระหรือฆราวาสที่เป็นพุทธศาสนิกชน

*-*-*-*

คนที่ผมตรวจสอบแล้วว่า.. ไม่เห็นดวงบุญ เห็นแต่ดวงบาป ดวงธรรมที่ทำให้เป็นกายดำสนิทนี้ เป็น "กลุ่มคนใน" 

บุคคลท่านนี้ พอไปศึกษาปรัชญา มีอาชีพทางสอนปรัชญา แต่ทำความผิดร้ายแรงคือ "เชื่อปรัชญามากกว่าศาสนาพุทธ" 

นี่แหละ... คือ จุดเริ่มของความฉิบหายวายป่วง 

ผมเองนั้น... จบปริญญาเอกสหวิทยาการ  ก็เรียนปรัชญาโดยตรงนี่แหละ  แต่ผมเชื่อ "พระพุทธเจ้า" มากกว่านักปรัชญาคนอื่นๆ 

เชื่อทั้งในด้านองค์ความรู้ที่พระองค์ทรงสอนออกมา เชื่อทั้งในด้าน "บุญบารมี" ของสมเด็จพระพุทธเจ้า

นักปรัชญาตะวันตกนั้น  องค์ความรู้ที่เผยแพร่ออกมา "ห่างชั้น" กับพระพุทธเจ้ามาก

บุคคลท่านนี้... 

เริ่มสงสัยในพระไตรปิฎก เริ่มสงสัยในพระพุทธเจ้า เริ่มสงสัยไปหมด..... แล้วฟันธงไปว่า พระไตรปิฎกน่าจะมีปัญหา

ผมเองก็สงสัยในพระไตรปิฎกมาก แต่ผมคิดไม่เหมือนบุคคลท่านนั้น  ผมคิดว่า.... "ความรู้ของผมยังไม่พอ" พระไตรปิฎกต้องเป็นจริงแล้ว 

เมื่อไหร่ มีความรู้เพียงพอ ความสงสัยก็จะหายไป

บุคคลท่านนั้น "หลงตัวเอง" โดยจะรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ไม่ทราบได้ ถึงกล้าไปฟันธงว่า... พระไตรปิฎกผิด 

บอกตรงๆ ว่า... ผมมีความสงสารท่านบุคคลท่านนี้มาก ที่ชาตินี้ทั้งชาติ เกิดมาเพื่อทำลายตัวเอง

-------------------------

เขียนโดย ดร. มนัส โกมลฑา Ph.D. (สหวิทยาการ)

www.manaskomoltha.net

Facebook Fanpage: https://www.facebook.com/manas4299/

Line ID : manas4299

Youtube: https://www.youtube.com/user/mommeam4299/

โทรศัพท์ : 083-4616989

เชื่ออะไรถึงจะปลอดภัย


บทความนี้เป็นบทความสุดท้ายของบทความชุด “เชื่ออะไรดี : ศาสนา ปรัชญา วิทยาศาสตร์

ในสองบทความที่เขียนไปแล้วนั้น  ผมได้กล่าวถึงความหมายของความเชื่อกับความจริง และแบ่งประเภทของบุคคลออกตามความเชื่อเป็น 4 ประเภทไปแล้ว

ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึง “ตัวตน” ของวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และศาสนาว่า มีลักษณะเป็นเช่นไร  เพื่อนำไปเป็นเหตุผล เพื่อหาข้อดี ข้อเสีย และช่วยในการตัดสินใจที่เราจะเลือก “เชื่อ” อะไรกันดี

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์นี่ ท่านศึกษาสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นหลัก  ถ้าจะศึกษาถึงคน ก็จะศึกษาลงไปในอะตอม ในเซล ฯลฯ ซึ่งไม่ได้เน้นศึกษาถึงวิญญาณ/ใจ/จิต 

พูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า วิทยาศาสตร์เน้นการศึกษาสิ่งที่ไม่มีชีวิต

บางท่านอาจจะนึกแย้งในใจว่า วิชาชีววิทยาก็ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิต  

คำแย้งในก็ถูก แต่เมื่อจะนำมาศึกษาเพื่อที่จะเลือกเชื่อหรือเลือก “ไม่เชื่อ” นั้น  เราก็ต้องมองในมุมมองที่เปรียบเทียบกันได้

วิทยาศาสตร์เก่าศึกษาสิ่งที่มีชีวิตแบบแยกส่วน  ไม่คำนึงถึง “วิญญาณ/ใจ/จิต” วิทยาศาสตร์จึงไม่ศึกษาเกี่ยวกับบุญกรรม ในลักษณะที่ศาสนาสอน

ปรัชญา

ปรัชญาที่ขึ้นชื่อว่า “เป็นแม่” ของวิชาทั้งปวงนั้น  มีหลายสาขา แต่ปรัชญาใช้เครื่องมือที่คับแคบในการศึกษา คือ ใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือในการศึกษา

ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความเป็นเหตุผลทั้งหมด

ปรัชญามีสาขาจริยศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความดีของมนุษย์ แต่ถ้าเราไม่ทำตามระบบจริยศาสตร์ของสังคม เราก็จะถูกตำหนิ ติเตียน แค่นั้น

ศาสนา

สิ่งที่ศาสนาพุทธสอนนั้น เน้นไปที่กรรมดี กรรมชั่วโดยเฉพาะ ถ้าไม่ทำกรรมดีไว้ ผลต่อไปภายภาคหน้าก็ต้องไปอบายภูมิ หรือนรกโลกันต์ไปเลย  หรือได้ไปสุคติภูมิ ไปนิพพาน

ที่นี้ระยะเวลาที่จะต้องไปรับกรรมนั้น มันนานกว่าการกระทำ

ยกตัวอย่างเช่น

เกิดมาชาตินี้ เน้นการกระทำความชั่วเป็นหลัก โกงกิน คอร์รัปชั่น เบียดเบียนผู้อื่นตลอดชีวิต 

สมมุติว่า เริ่มสะสมกรรมชั่วตั้งแต่อายุ 20 ปี  ถึง 60 ปีก็เลิก เรียกว่ากระทำความชั่วอยู่แค่ 40 ปี แต่เวลาไปใช้กรรมนั้น  มันไม่ใช่แค่ 40 ปี

ส่วนใหญ่แล้ว เกิดชาติใหม่ ผลกรรมชั่วยังส่งมาถึงอีก

แล้วจะเชื่ออะไรดีระหว่างศาสนา ปรัชญา วิทยาศาสตร์

สมมุติว่า นาย ก เป็นคนเชื่อศาสนา นาย ข เป็นคนเชื่อปรัชญา และนาย ค เป็นคนเชื่อวิทยาศาสตร์

ถ้าวิทยาศาสตร์เป็นความจริง

ทั้งนาย ก นาย ข และ นาย ค ก็ไม่มีปัญหาอะไร คงจะมีความสุขไปตามอัตภาพ

ถ้าปรัชญาเป็นความจริง

ทั้ง นาย ก นาย ข และ นาย ค ก็ไม่มีปัญหาอะไรอีกเช่นเดียวกัน แต่ นาย ข และ นาย ค อาจจะโดนตำหนิจากระบบจริยศาสตร์ของสังคมบ้าง ถ้าไปทำสิ่งใดที่ขัดต่อจริยศาสตร์

ถ้าศาสนาเป็นความจริง

ตรงนี้เป็นอันตรายต่อ นาย ข และ นาย ค เป็นอย่างมาก 

นาย ก ท่านรอดตัวแน่ๆ แต่ นาย ข และ นาย ค ถ้าไม่ทำความดีในทางศาสนาไว้เลย  แล้วจะมีโอกาสไปสุคติภูมิได้อย่างไร

แล้ว ความยาวของโทษทัณฑ์หรือความดีนั้น  นับกันเป็นอสงไขย

ก็ลองคิดกันดูว่า จะเชื่ออะไรกันดี

แต่ตอนนี้ ต้องรู้ไว้ก่อนนะว่า วิทยาศาสตร์กับปรัชญาหมดสิทธิ์ที่จะไปกำหนดว่า องค์ความรู้ไหนเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงแล้ว



ความเชื่อความจริง 4 ประเภท


ในบทความ “ความเชื่อ ความจริง คนไทย”  ผมได้กล่าวถึงความหมายของความเชื่อกับความจริงไปแล้ว

ความเชื่อ หมายถึงว่า  ถ้าเรามีความเชื่อในสิ่งใด ก็คือ เราเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นความจริง และเราก็จะปฏิบัติตามที่สิ่งนั้นกำหนด

สำหรับความจริง (truth) นั้น เป็นข้อความที่ใช้กันในภาษา  ถ้าข้อความใดๆ ที่ใครก็ตามสื่อออกมา ตรงกับข้อเท็จจริง (fact) หรือ ความเป็นจริง (reality)

ข้อความนั้นก็เป็นความจริง  ถ้าไม่ตรงก็เป็นความเท็จ

กลับมาถึงบุคคลที่แบ่งตามความเชื่อ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

1) พวกเชื่อว่าวิทยาศาสตร์เป็นความจริง

พวกนี้ มักจะเป็นพวกที่ได้เรียนหนังสือในระบบโรงเรียนมามากพอสมควร

พวกนี้จะเชื่อวิทยาศาสตร์อย่างสุดกู่ สิ่งไหนสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ได้ จะหลับหูหลับตาบอกไปเลยว่า ไม่จริง

ในความเป็นจริงแล้ว นักวิทยาศาสตร์ยุคเก่าเขาไม่ได้เน้นที่ว่า สิ่งนั้น สัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ได้หรือไม่

เขาเน้นว่า สิ่งไหนที่ วัดด้วยเครื่องมือในทางวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่ได้  ถ้าสิ่งไหนวัดด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้

สิ่งนั้นอันนั้นก็ถือว่าไม่จริงทั้งหมด

แต่การที่มีใครก็ตามพูดว่า นักวิทยาศาสตร์ยุคเก่าเห็นว่า สิ่งใดก็ตามสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ไม่ได้ สิ่งนั้นไม่จริง

ก็ไม่ถือว่าผิด  เพราะ การสัมผัสด้วยประสาทสัมผัสทั้งห้า ก็ถือว่า “เป็นการวัด” แบบหนึ่งในทางวิทยาศาสตร์

เมื่อนักวิทยาศาสตร์เก่าแบบนิวตันใช้ “การวัด” เป็นมาตรฐานในการกำหนดความจริง  บางสิ่งบางอย่าง ที่เราก็รู้ว่ามีจริงๆ เช่น ความรัก”, “ความเกลียดเป็นต้น  วิทยาศาสตร์เขาก็ไม่สนใจที่จะศึกษา

หนักเข้าไปอีก คือ ไม่ยอมศึกษาถึงเลย ทั้งๆ ที่รู้ว่า มันมีอยู่จริงๆ

แต่ตอนนี้ ความเชื่อแบบนี้ มันถูกล้มเลิกไปแล้ว โดยองค์ความรู้ของวิทยาศาสตร์กันเอง คือ ฟิสิกส์ใหม่

คนที่ยังเชื่อวิทยาศาสตร์อย่างไม่ลืมหูลืมตา ก็ถือว่าเป็นพวกตกยุค  สิ่งที่น่าตกใจก็คือ พวกตกยุคอย่างนี้ยังมีมากในสังคมไทย

ขอให้สังเกตดู อ่านตามหนังสือหรือเว็บไซต์ เรายังจะพบข้อความที่ว่า วิทยาศาสตร์คือความจริง ศาสนาคือความเชื่อ อยู่เสมอๆ

นี่แหละคือตัวอย่างของพวก เชื่อวิทยาศาสตร์อย่างงมงาย ไม่ลืมหูลืมตา

2) พวกเชื่อว่า ปรัชญาตะวันตกเป็นความจริง

พวกนี้มีน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิชาการที่เรียนสูงๆ หน่อย โดยเฉพาะสาขาทางปรัชญา

พวกนี้จะเชื่อเหตุผล (reason) อย่างเดียว โดยเฉพาะเหตุผลของศาสตร์ตะวันตก ดังนั้น พวกนี้จึงจะเชื่อวิทยาศาสตร์ไปด้วย

พวกนี้จะมีโอกาสเขียนหนังสือเผยแพร่ได้มาก จึงเผยแพร่ความเชื่อของตนเองได้มากตามไปด้วย 

กลุ่มคนที่อ่านหนังสือของพวกเชื่อว่า ปรัชญาตะวันตกเป็นความจริง และเชื่อตามหนังสือ จึงมักจะไม่รู้ตัวว่า ตนเองเชื่อไปตามปรัชญาตะวันตก

3) พวกเชื่อว่า ไสยศาสตร์/อำนาจลึกลับเป็นความจริง

พวกนี้จะเชื่อถืออะไรก็ตามที่มีอิทธิฤทธิ์ อิทธิเดช  เรียกว่า นับถือดะไป ไม่ว่าจะเป็นศาลเจ้าพ่อ คนทรงเจ้า หมอดู

อย่างไรก็ดี กลุ่มนี้ ส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาด้วย  แต่จะเป็นศาสนาอะไร แบบไหนก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง

โดยมากจะนับถือศาสนาเป็นอันดับหนึ่ง คือ ให้สังเกตดูสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบ้าน พระบูชาจะตั้งไว้สูงสุด ต่ำลงมาก็จะเป็นเครื่องรางของขลังต่างๆ ตามความศักดิ์สิทธิ์

ยกตัวอย่างของเพื่อนผม น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี

เพื่อนผมคนนี้ ตอนนี้บวชเป็นพระแล้ว  ในสมัยที่ยกเป็นวัยรุ่นกันอยู่  ท่านจะคล้องพระเครื่องนับสิบองค์ได้  พระเครื่องก็คล้องไว้ที่คอ

ส่วนที่เอวนั้น จะมีปลัดขิกนับสิบอันเหมือนกัน มีทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ หลายหลายชนิดว่าอย่างงั้นเถอะ

ท่านบวชพระตอนอายุมากแล้ว  ตั้งใจว่าจะบวชไม่สึก หลายปีแล้วผมไปเยี่ยมท่าน ปลัดขิกของท่านก็ยังอยู่เหมือนเดิม

ขนาดบวชเป็นพระแล้ว

4) พวกเชื่อว่า ศาสนาพุทธเป็นความจริง

กลุ่มคนกลุ่มนี้ ถ้าจะว่ากันไปแล้ว ก็เป็นกลุ่มที่ทับซ้อนอย่างมากกับกลุ่มพวกเชื่อว่าไสยศาสตร์/อำนาจลึก ลับเป็นความจริง คือ ผสมปนเปกันไป 

พวกที่เชื่อไสยศาสตร์/อำนาจแต่เพียงอย่างเดียว ศาสนาไม่นับถือ พระไม่ไหว้เลย นี่ก็มีเป็นจำนวนน้อย

กลุ่มที่เข้าถึงศาสนาจริงๆ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับไสยศาสตร์เลยก็มีเป็นจำนวนน้อย เช่นเดียวกัน ส่วนใหญ่จะผสมปนเปกันไป

ในบทความนี้ เราได้แบ่งกลุ่มบุคคลตามความเชื่อออกเป็น 4 กลุ่ม คือ เชื่อวิทยาศาสตร์ ปรัชญา ไสยศาสตร์ และศาสนา 

กลุ่มสุดท้ายนี้ สับสนปนเปกันไป  พวกที่นับถือไสยศาสตร์อย่างเดียว ไม่ไหว้พระเลยนี่ มีน้อยมาก หรือเกือบจะไม่มี  พวกที่นับถือศาสนาล้วนๆ ไม่เชื่อไสยศาสตร์เลยนี่ ก็มีน้อยมาก