บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

เชื่ออะไรถึงจะปลอดภัย


บทความนี้เป็นบทความสุดท้ายของบทความชุด “เชื่ออะไรดี : ศาสนา ปรัชญา วิทยาศาสตร์

ในสองบทความที่เขียนไปแล้วนั้น  ผมได้กล่าวถึงความหมายของความเชื่อกับความจริง และแบ่งประเภทของบุคคลออกตามความเชื่อเป็น 4 ประเภทไปแล้ว

ต่อไปนี้ จะได้กล่าวถึง “ตัวตน” ของวิทยาศาสตร์ ปรัชญา และศาสนาว่า มีลักษณะเป็นเช่นไร  เพื่อนำไปเป็นเหตุผล เพื่อหาข้อดี ข้อเสีย และช่วยในการตัดสินใจที่เราจะเลือก “เชื่อ” อะไรกันดี

วิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์นี่ ท่านศึกษาสิ่งที่ไม่มีชีวิตเป็นหลัก  ถ้าจะศึกษาถึงคน ก็จะศึกษาลงไปในอะตอม ในเซล ฯลฯ ซึ่งไม่ได้เน้นศึกษาถึงวิญญาณ/ใจ/จิต 

พูดให้เข้าใจง่ายๆ ว่า วิทยาศาสตร์เน้นการศึกษาสิ่งที่ไม่มีชีวิต

บางท่านอาจจะนึกแย้งในใจว่า วิชาชีววิทยาก็ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิต  

คำแย้งในก็ถูก แต่เมื่อจะนำมาศึกษาเพื่อที่จะเลือกเชื่อหรือเลือก “ไม่เชื่อ” นั้น  เราก็ต้องมองในมุมมองที่เปรียบเทียบกันได้

วิทยาศาสตร์เก่าศึกษาสิ่งที่มีชีวิตแบบแยกส่วน  ไม่คำนึงถึง “วิญญาณ/ใจ/จิต” วิทยาศาสตร์จึงไม่ศึกษาเกี่ยวกับบุญกรรม ในลักษณะที่ศาสนาสอน

ปรัชญา

ปรัชญาที่ขึ้นชื่อว่า “เป็นแม่” ของวิชาทั้งปวงนั้น  มีหลายสาขา แต่ปรัชญาใช้เครื่องมือที่คับแคบในการศึกษา คือ ใช้เหตุผลเป็นเครื่องมือในการศึกษา

ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความเป็นเหตุผลทั้งหมด

ปรัชญามีสาขาจริยศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความดีของมนุษย์ แต่ถ้าเราไม่ทำตามระบบจริยศาสตร์ของสังคม เราก็จะถูกตำหนิ ติเตียน แค่นั้น

ศาสนา

สิ่งที่ศาสนาพุทธสอนนั้น เน้นไปที่กรรมดี กรรมชั่วโดยเฉพาะ ถ้าไม่ทำกรรมดีไว้ ผลต่อไปภายภาคหน้าก็ต้องไปอบายภูมิ หรือนรกโลกันต์ไปเลย  หรือได้ไปสุคติภูมิ ไปนิพพาน

ที่นี้ระยะเวลาที่จะต้องไปรับกรรมนั้น มันนานกว่าการกระทำ

ยกตัวอย่างเช่น

เกิดมาชาตินี้ เน้นการกระทำความชั่วเป็นหลัก โกงกิน คอร์รัปชั่น เบียดเบียนผู้อื่นตลอดชีวิต 

สมมุติว่า เริ่มสะสมกรรมชั่วตั้งแต่อายุ 20 ปี  ถึง 60 ปีก็เลิก เรียกว่ากระทำความชั่วอยู่แค่ 40 ปี แต่เวลาไปใช้กรรมนั้น  มันไม่ใช่แค่ 40 ปี

ส่วนใหญ่แล้ว เกิดชาติใหม่ ผลกรรมชั่วยังส่งมาถึงอีก

แล้วจะเชื่ออะไรดีระหว่างศาสนา ปรัชญา วิทยาศาสตร์

สมมุติว่า นาย ก เป็นคนเชื่อศาสนา นาย ข เป็นคนเชื่อปรัชญา และนาย ค เป็นคนเชื่อวิทยาศาสตร์

ถ้าวิทยาศาสตร์เป็นความจริง

ทั้งนาย ก นาย ข และ นาย ค ก็ไม่มีปัญหาอะไร คงจะมีความสุขไปตามอัตภาพ

ถ้าปรัชญาเป็นความจริง

ทั้ง นาย ก นาย ข และ นาย ค ก็ไม่มีปัญหาอะไรอีกเช่นเดียวกัน แต่ นาย ข และ นาย ค อาจจะโดนตำหนิจากระบบจริยศาสตร์ของสังคมบ้าง ถ้าไปทำสิ่งใดที่ขัดต่อจริยศาสตร์

ถ้าศาสนาเป็นความจริง

ตรงนี้เป็นอันตรายต่อ นาย ข และ นาย ค เป็นอย่างมาก 

นาย ก ท่านรอดตัวแน่ๆ แต่ นาย ข และ นาย ค ถ้าไม่ทำความดีในทางศาสนาไว้เลย  แล้วจะมีโอกาสไปสุคติภูมิได้อย่างไร

แล้ว ความยาวของโทษทัณฑ์หรือความดีนั้น  นับกันเป็นอสงไขย

ก็ลองคิดกันดูว่า จะเชื่ออะไรกันดี

แต่ตอนนี้ ต้องรู้ไว้ก่อนนะว่า วิทยาศาสตร์กับปรัชญาหมดสิทธิ์ที่จะไปกำหนดว่า องค์ความรู้ไหนเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงแล้ว



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น